คลังความรู้

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้กับผู้ประสบอุบัติเหตุ




1) การปฐมพยาบาลผู้ที่มีบาดแผล1.  กดบาดแผลโดยใช้ฝ่ามือ  นิ้วมือ  หรือผ้าที่สะอาดกดที่บาดแผลจนกว่าเลือดจะหยุดไหล
2. ใช้สำลีและผ้าพันแผลกดทับที่บาดแผลจนกว่าเลือดจะหยุดไหล
3. ใช้น้ำแข็งกดที่แผลเพื่อให้เลือดแข็งตัวและหยุดไหล
4. การขันชะเนาะหรือสายรัด ใช้บาดแผลที่มีเลือดออกมากทำได้โดยใช้ผ้า  เชือก  หรือยางรัดเหนือบาดแผล  โดยรัดระหว่างบาดแผลกับหัวใจใช้เวลา 10-15 นาที  แล้วคลายออก 10 นาที  ทำสลับกันเช่นนี้จนเลือดหยุดไหล

การใช้ผ้าสามเหลี่ยมคล้องแขน
วิธีปฎิบัติ

1. นำผ้าสามเหลี่ยมวางทาบบนลำตัวให้มุมผ้าอยู้บริเวณข้อศอก
2. จับมุมผ้าด้านล่าง  พันทบขึ้นพาดผ่านแขนและข้อศอก   แล้วผูกมัดกับมุมผ้าอีกมุมผ้าอีกมุมที่อยู่บริเวณต้นคอ กึ่งกลางไหล่   
3. จับมุมผ้าบริเวณข้อศอกพันทบข้อศอกมาด้านหน้า  แล้วใช้เข็มกลัดยึดติดให้เรียบร้อย

การใช้ผ้าสามเหลี่ยมพันศีรษะ
วิธีปฎิบัติ

1.นำผ้าสามเหลี่ยมมาพันรอบศีรษะให้มุมแหลมของผ้าอยู่ด้านหลัง
2.จับชายผ้าทั้งสองข้าง พันไขว้สลับกันแล้วดึงชายผ้าอ้อมไปด้านหน้าทั้งสองข้าง
3. มัดชายผ้าด้วยเงื่อนพิรอด  ให้ตรงจุดกึ่งกลางหน้าผากพอดี
4.พับทบมุมแหลมของผ้าสามเหลี่ยมที่อยู่ด้านหลังขึ้น แล้วม้วนเก็บให้เรียบร้อย







2)การปฐมพยาบาลผู้ที่ถูกไฟดูด
วิธีปฐมพยาบาล
1.ตัดวงจรไฟฟ้าไม่ได้  ให้ใช้ไม้แห้งเขี่ยเอาสายไฟออกจากจากผู้บาดเจ็บ หรืออาจใช้ผ้าหรือเชือก  คล้องผู้บาดเจ็บแล้วลากเอาตัวอกมาจากบริเวณนั้นโดยไม่ไปสัมผัสตัวผู้บาดเจ็บ  และต้องยืนอยู่ บนพื้นที่แห้ง  เวลาเขี่ยสายไฟออกจากตัวผู้บาดเจ็บ  ให้ระวังสายไฟจะสะบัดมาถูกตัวผู้ปฐมพยาบาลเอง
2. ถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจต้องรีบผายปอด  เมื่อผู้ป่วยหายใจเป็นปรกติแล้ว ให้ผู้ป่วยนอนพักและห่มผ้าให้ร่างกายอบอุ่น  ถ้าอาการไม่ดีขึ้น  ให้รีบส่งโรงพยาบาล




3) การปฐมพยาบาลคนที่จมน้ำ
วิธีปฐมพยาบาล1. ล้วงปาก  และคอผู้ป่วยเอาดินและโคลนออกจากทางเดินหายใจ
2. จัดให้นอนราบ  ศีรษะตะแคงข้างในระดับต่ำกว่าลำตัวเล็กน้อย
3.ถ้าหากผู้ป่วยหยุดหายใจหากจมน้ำตื้น  รีบให้ใบหน้าของผู้ป่วยพ้นเหนือน้ำแล้วทำการผ่ายปอด  ด้วยวิธีเป่าลมเข้าปาก แล้วรีบพาเข้าฝั่ง
หากจมน้ำลึก ควรรีบนำผู้ป่วยขึ้นฝั่งให้เร็วที่สุดแล้วจึงทำการผายปอด




4) การปฐมพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการช็อก
ช็อก คือ อาการที่ร่างกายขาดเลือดไปหล่อเลี้ยงสมองชั่วระยะหนึ่ง  มีอาการคล้ายเป็นลมแตรุนแรงกว่ามากอาการช็อก  อาจเกิดจากการได้รับกระทบกระเทือนทางจิตใจ  หรือได้รับข่าวร้ายอย่างกะทันหัน
ลักษณะ   มีเหงื่อออก   หน้าซีด   ตาลาย  หายใจไม่สะดวก  ใจสั่น  ชีพจรเต้นเร็ว  ความดันโลหิตต่ำ
วิธีปฐมพยาบาล
1.ให้ผู้ป่วยนอนราบลงกับพื้น  โดยไม่ต้องหนุนหมอน  เพื่อให้เลือดไหลสู่สมอง
2. ถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจ  หรือหายใจไม่สะดวก  ต้องรีบแก้สิ่งที่รัดคอออก เช่น  เน็กไท  เพื่อความสะดวกในการหายใจ  
และการผายปอด
3.ถ้ามีบาดแผลต้องรีบห้ามเลือดก่อน  และทำแผลต่างๆให้อยู่นิ่งๆ  เช่น เข้าเฝือกชั่วคราว  เพื่อว่าบริเวณจะได้ไม่ปวดมาก
4. ถ้าหนาวก็รีบห่มผ้าให้ความอบอุ่น
5. ถ้าปวดหัวให้กินยาแก้ปวดหัว  ให้ยากระตุ้น  หรือดมแอมโมเนียหอม
6. ถ้าอาการไม่ดีขึ้น  ให้รีบนำส่งโรงพยาบาล

การผายปอดด้วยวิธีปากต่อปากในขั้นแรก ควรตรวจดูลมหายใจของผู้ป่วยก่อนถ้าไม่หายใจก็ปฎิบัติดังนี้
1.แนบหูใกล้กับปากของผู้ป่วยตามองที่ทรวงอก  ถ้ายังหายใจอยู่มีการเคลื่อนไหวตามจังหวะการเต้นของหัวใจ  ได้ยินเสียงและรับรู้ความรู้สึกของลมหายใจของผู้ป่วยได้
2. เมื่อผู้บาดเจ็บยังหายใจอยู่แสดงว่าหัวใจยังคงเต้นอยู่ควรรีบจัดผู้ป่วยให้นอนพักฟื้น  และห่มผ้าให้ร่างกายอบอุ่น
3. ถ้าตรวจพบว่าไม่หายใจต้องรีบผายปอดตามขั้นตอนนี้

ขั้นตอนการผายปอด1. ล้วงเอาสิ่งแปลกปลอมออกจากปากผู้ป่วย เช่นฟันปลอม  เสมหะ  เศษอาหาร เป็นต้น  
2. จับศีรษะให้นอนหงายไปด้านหลัง  โดยการพับผ้าหลายๆชั้น แล้วหนุนรองใต้บ่าเพื่อให้ทางเดินหายใจเปิดกว้าง
3. ผู้ปฐมพยาบาลหายใจเข้าลึกๆแล้วก้มลงแนบปากกับปากของผู้บาดเจ็บ  เป่าลมปากไปในปากให้มากที่สุด  จนอกของผู้ป่วยกระเพื่อมขึ้นถอนปากออกให้ผู้บาดเจ็บหายใจออกเองโดยดูที่อกของผู้บาดเจ็บจะแฟบลง  ให้ทำตามวิธีข้างต้น 12-15 ครั้งต่อนาที จนผู้บาดเจ็บหายใจเองได้

การผายปอดโดยวิธีของโฮลเกอร์- นีลเสนจัดท่าให้ถูกต้อง
ผู้ปฐมพยาบาล นั่งอยู่เหนือศีรษะของผู้บาดเจ็บในท่าคุกเข่าข้างหนึ่งลงมือทั้งสองข้าง  วางบนหลังส่วนบนของผู้บาดเจ็บ
ผู้บาดเจ็บ  จัดให้นอนคว่ำหน้าลงแล้วเอียงหน้าออกไปด้านข้าง  ระวังอย่าให้มีอะไรอุดตันทางลมหายใจ  วางมือทั้งสองข้าง  
รองใต้หน้าผาก

ลงมือปฎิบัติ 1. โน้มน้ำหนักตัวลงบนมือทั้งสองข้างจะทำให้มีแรงดันบนหลังของผู้บาดเจ็บจากบนลงล่าง  ใช้เวลา สองวินาทีครึ่ง  เป็นท่าที่ผู้ป่วยหายใจออก
2. ยกมือขึ้น  และเลื่อนมาจับที่แขนตรงเหนือข้อศอกทั้งสองข้าง  ดึงไปทางด้านบน  ยกให้สูงขึ้น  ใช้เวลาสองวินาทีครึ่ง  เป็นท่าที่ผู้ป่วยหายใจเข้าแล้วปล่อยแขนกลับมาที่เดิมอีกทำเช่นนี้สลับกันไปเรื่อยๆ


การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
การอุ้มเดี่ยว
   เมื่อผู้ปฐมพยาบาลมีเพียงคนเดียวโดยพยุงผู้ป่วยขึ้น  แล้วอุ้มพาดบ่า  พร้อมใช้มือยึดจับมือผู้ป่วยเพื่อความกระชับ
 และปลอดภัย
การอุ้มคู่       เมื่อมีผู้ปฐมพยาบาลสองคน  โดยให้ผู้ปฐมพยาบาลทำมือประสานกันเพื่อให้ผู้ป่วยนั่งบนมือที่ประสานกันไว้
การใช้เปล   เมื่อมีผู้ปฐมพยาบาลตั้งแต่  2 คนขึ้นไป และมีเปล  หรือเครื่องมืออื่นที่ใช้แทนเปลได้


ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
มูลนิธิคณะลูกเสือแห่งชาติ.  ลูกเสือ - เนตรนารี ป.6.  พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ :  อักษรเจริญทัศน์.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น